วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Ma dernière sortie scolaire.

 

   Ma dernière sortie scolaire. Je suis allée Nakhon Pathom. J'ai visité Praraatchawang SanamChan pour d'apprendre.Praraatchawang SanamChan c'est beaucoup. Je suis allée le temple Phra Pathomchédi pour faire un merite,j'ai été trés heureux. Je fait du shopping au TaladNam Donwai avec mes amis. J'ai achetée beaucoup de desserts pour mes parents. Je suis allée Saun Sampran pour voir des crocodiles show et des éléphants show, C'est super!

Protéger la planéte.

    Pour protéger la planéte.Il ne faut pas laisser couler l'eau. Il faut l'économiser. Il faut protéger nos forêts. Il faut limiter les trajets en voiture. Il ne faut pas gaspiller le papier. Nous ne devons pas jeter de papiers pas terre. Nous devons trier les déchets.

La météo d.'aujourd'hui

    Aujour d'hui, il fait du soleil à Bangkok et à Huahin, Il pleut à Suratthani et il fait gris à Narathiwat. Il fait beau/il y a nuage à Chaing Mai.
...Pour les températures, il fait 31 degrés à Bangkok, 33 dégrés à Suratthani, 26 dégrés à Natathiwat et 15 dégrés à Chaing Mai.

การประชุม COP21 ที่กรุงปารีสจบลงด้วยการรับรองข้อตกลงต่อสู้ภาวะโลกร้อน

An illustration picture taken on Dec. 10, 2015 in Paris shows a draft for the outcome of the COP21 United Nations conference on climate change next to a picture of the Eiffel Tower.
ผู้แทน 196 ประเทศที่ร่วมประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส รับรองข้อตกลงว่าด้วยการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม นับเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมที่สุด นับตั้งแต่การจัดทำพิธีสารเกียวโตเมื่อปี ค.ศ 1997
รมต.ต่างประเทศของฝรั่งเศส Laurent Fabius กล่าวต่อที่ประชุมว่า เสียงตอบรับต่อข้อตกลงต่อสู้ภาวะโลกร้อนฉบับล่าสุดเป็นบวก และไม่มีเสียงคัดค้าน ดังนั้นเป็นที่แน่ชัดว่าที่ประชุมได้รับรองข้อตกลงฉบับนี้แล้วรมต. Fabius ใช้ค้อนเล็กทุบโต๊ะหลังคำประกาศดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการเจรจาหารือยาวนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และยังถือเป็นการทำลายภาวะชะงักงันเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เอกสารจำนวน 31 หน้าระบุถึงข้อตกลงที่ประเทศต่างๆเห็นพ้องกัน เป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ด้วยการจัดหาเงินช่วยเหลือมูลค่า 100,000 ล้านดอลล่าร์แก่ประเทศยากจน ทบทวนความก้าวหน้าทุกๆ 5 ปี และหาทางลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
Activists gather near the Eiffel Tower during the COP21, the United Nations Climate Change Conference, in Paris, Dec.12, 2015.
Activists gather near th
เมื่อวันเสาร์ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ บัน คี มูน กล่าวต่อที่ประชุม COP21 ว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อจัดการปัญหาภาวะโลกร้อน                 
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่มิได้นำมารวมไว้ในร่างข้อตกลงขั้นสุดท้าย คือการแบ่งสันปันส่วนความรับผิดชอบในหมู่ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ว่าจะต้องจัดสรรเงินทุนให้โครงการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน
นักวิเคราะห์เชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านการรับรองของที่ประชุมได้ เป็นเพราะการที่บรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจต่างปรากฏตัวในวันแรกๆของการประชุม พร้อมรับปากว่าจะร่วมมือกันเพื่อกำจัดอุปสรรคในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
                      
ปธน.สหรัฐฯ บารัค โอบาม่า กล่าวว่าข้อตกลงฉบับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมกันในการรักษาโลกของเรา และเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจริงว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาฉุกเฉินที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งประเทศต่างๆได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้
COP21 sign agreement
COP21 sign agreement
ขณะเดียวกัน มีหลายประเทศต่อต้านข้อตกลงฉบับนี้ นำโดย จีน อินเดีย มาเลเซียและซาอุฯ ซึ่งยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดจะสร้างผลร้ายต่อเศรษฐกิจของตน บรรดาประเทศเหล่านี้ยืนยันว่าประเทศพัฒนาแล้วควรแบกภาระด้านเงินช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนมากกว่านี้ 
สำหรับประเทศในแถบแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ต่างลังเลในตอนแรกที่จะยอมรับข้อตกลง แต่ในที่สุดก็สามารถเจรจากันได้ และจะได้รับเงินทุนหลายพันล้านดอลล่าร์จากฝรั่งเศสและประเทศอื่น เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด
                
รมต.สิ่งแวดล้อมแอฟริกาใต้ เอ็ดน่า โมลีว่า ระบุว่าแม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่ในที่สุดเราก็สามารถมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ด้านผู้จัดประชุมเชื่อว่าการที่ 196 ประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในการประชุม COP21 ครั้งนี้ ถือเป็นหน้าสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือระดับชาติในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน 

วันชาติสหรัฐอเมริกา

The 4th of July



The 4th of July (Independence Day) หรือ วันชาติสหรัฐอเมริกา หรือ วันฉลองอิสรภาพ สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ.1776 (พ.ศ. 2319) ซึ่งเป็นวันที่โธมัส เจฟเฟอร์สัน ได้ประกาศ "คำประกาศอิสระภาพ" ซึ่งมีใจความสำคัญถึงความมีสิทธิในชีวิตเสรีภาพ และการแสวงหาความสุขของชีวิตของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

Thomas Jeffersonในฤดูร้อนของปี ค.ศ.1776 ผู้แทนของอาณานิคมอังกฤษทั้ง13 แห่ง ในอเมริกาเหนือได้มารวมกันที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพลซิลเวเนีย เพื่อหารืออภิปรายกันในข้อเสนอที่อาจหาญว่า "อาณานิคมที่ผนึกเข้าด้วยกันนี้ล้วนแต่เป็นรัฐอิสระและเป็นเอกราช แล้ว โดยสิทธิก็ควรจะเป็นเช่นนั้น" ในขณะที่ผู้แทนจากอาณานิคม กำลังประชุมเพื่อพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวอยู่นั้น คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 5 คนนำโดย ทอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) ซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศสหรัญอเมริกา ได้ร่างเอกสารขึ้นฉบับหนึ่งซึ่งเรียกกันในเวลาต่อมาว่า "คำประกาศอิสระภาพ" หรือ "คำประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร" (Declaration of Independence) ส่งให้แก่อังกฤษ ก่อให้เกิดประเทศใหม่ชื่อว่า "สหรัฐอเมริกา" (United State of America) ขึ้น คำประกาศดังกล่าวได้กลายเป็นพื้นฐานระบอบประชาธิปไตยของประเทศอเมริกา โดยคำประกาศได้วางหลักการและเหตุผลในการก่อตั้งประเทศใหม่ว่า "เราถือว่าความจริงต่อไปนี้มีความหมายประจักษ์ชัดในตัวเอง คือ มนุษย์ทุกคนล้วนถือกำเนิดเกิดมาเท่าเทียมกัน และต่างได้รับสิทธิบางประการที่อาจมอบโอนกันได้จากประทานของผู้สร้าง ซึ่งในบรรดาสิทธิเหล่านี้มีสิทธิในชีวิตเสรีภาพ และการแสวงหาความสุขเป็นอาทิ" บรรดาผู้เข้าร่วมการประชุมที่ฟิลาเดลเฟียได้ออกเสียงลงมติเห็นชอบกับคำประกาศอิสรภาพ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 วันดังกล่าวจึงถือว่าเป็นวันกำเนิดอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกานับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติของประเทศสหรัฐอเมริกานั้น เดิมดินแดนแถบนี้ได้มีชาวอเมริกันพื้นเมือง หรือ "อินเดียนแดง" (Indian) ซึ่งอพยพมาจากทวีปเอเชียเมื่อกว่า 25,000 ปีมาแล้วปกครองอยู่ก่อน จากนั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) นักสำรวจชาวอิตาเลียนได้เดินเรือมาถึงเกาะบาฮามาส์ (Bahamas) ทางตะวันออกของฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน และตั้งชื่อว่า "ซาน ซัลวาดอร์" (San Salvador) และเมื่อต้นศตวรรษที่ 16 ในปี 2150 ชาวอังกฤษกลุ่มแรกได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมือง เจมส์ทาวน์ (Jamestown) จากนั้นชาวยุโรปกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพตามเข้ามาพร้อมกับนำทาสผิวดำจากแอฟริกาเข้ามาด้วย แล้วขยายออกไปทางด้านตะวันตกอย่างรวดเร็ว โดยการขับไล่ชาวอินเดียนแดงให้ถอยร่นออกไป หลังจากประกาศอิสรภาพแล้วก็ได้เกิด สงครามกลางเมือง (American Civil War) ขึ้นในปี 2319-2326 ระหว่างรัฐฝ่ายใต้ทั้ง 13 รัฐที่ต้องการเอกราช กับ 21 รัฐฝ่ายเหนือที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ หลังจากชัยชนะของฝ่ายใต้ อังกฤษจึงยอมรับประเทศใหม่นี้ จากนั้นสหรัฐอเมริกาก็แผ่ขยายอาณาเขตของตนเองจนมีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึงกว่า 4 เท่าตัว

4th Julyเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเติบโตอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีอำนาจทางการเงินและการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกามีพื้นที่ทั้งหมด 9,631,418 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากรัสเซีย แคนาดา และจีน เมืองหลวงคือวอชิงตัน, ดี.ซี. (Warshing, D.C.) มีพื้นที่ทั้งหมด 9,631,418 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยมลรัฐ (State) 50 มลรัฐ แต่ละรัฐจะรับผิดชอบในการออกกฎหมายของตนเอง ปกครองในรูปแบบ สหพันธรัฐ (Federal Republic) ปกครองในระบอบประชาธิปไตยเสรี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 300 ล้านคน (พ.ศ. 2550) ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ หน่วยเงินตราดอลลาร์สหรัฐ (USD หรือ $ )

โดยในวันที่ 4 กรกฎาคมของทุกปี ชาวอเมริกันจะประดับประดาธงชาติของตนด้วยความภาคภูมิใจในการเฉลิมฉลองเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งถือเป็นมรดกของชาติร่วมกัน โดยในปีนี้ (พ.ศ. 2556) จะถือว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีอายุครบ 237 ปีแล้ว

หนังไทยในเทศกาลภาพยนตร์ เมืองคานส์

       หนังไทย ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์


        รักที่ขอนแก่น เป็นผลงานกำกับของผู้กำกับชาวไทย เจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ได้รับคัดเลือกเข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ 2015 โดยว่ากันว่า รักที่ขอนแก่น อาจเป็นผลงานกำกับหนังไทยเรื่องสุดท้ายของเขาก่อนจะหันไปจับภาพยนตร์ต่างประเทศเต็มตัว
โดยภาพยนตร์ รักนี้ที่ขอนแก่น เข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ ในฉายา ภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง (UN CERTAIN REGARD) และถึงจะไม่ได้เข้าฉายในสาขาหลักแต่ก็เป็นที่น่าจับตามองว่า รักนี้ที่ขอนแก่น มีสิทธิ์คว้ารางวัลในสายน่าจับตามองมาครอง 
         
และเมื่อได้เข้าฉายที่คานส์ ผลตอบรับของนักวิจารณ์ก็เป็นไปอย่างล้นหลาม คว้าคะแนนสูงสุดจากนักวิจารณ์ไปถึง 8.39 เต็ม 10 และได้รับการปรบมือหลังหนังจบ (Standing Ovation) ยาวถึง 10 นาที!

        รักที่ขอนแก่น ว่าด้วยเรื่องราวของ แม่บ้านวัยกลางคนที่โดดเดี่ยว ผู้ต้องดูแลและพยาบาลทหารที่ป่วยจนเป็นเจ้าชายนิทรา นำไปสู่อาการหลอนและภาพฝันอันแปลกประหลาด และความรัก
ก่อนหน้านี้ เจ้ย อภิชาติพงศ์ เคยได้รับรางวัลจากเวทีเทศกาลหนังเมืองคานส์ ปี 2545 สาขาภาพยนตร์ที่น่าจับตามอง (UN CERTAIN REGARD) จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา, 2547 ได้รางวัลขวัญใจกรรมการ (Jury Prize) จากภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด และในปี 2553 ผู้กำกับไทยรายนี้ทำสำเร็จคว้า ปาล์มทองคำ รางวัลสูงสุดของเทศกาลหนังเมืองคานส์ กับภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ.

ตูร์เดอฟร็องส์ Tour de France

ตูร์เดอฟร็องส์ (ฝรั่งเศสTour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากร็องด์บุกล์ (La Grande Boucle) และเลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟร็องส์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส

ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส