วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การประชุม COP21 ที่กรุงปารีสจบลงด้วยการรับรองข้อตกลงต่อสู้ภาวะโลกร้อน

An illustration picture taken on Dec. 10, 2015 in Paris shows a draft for the outcome of the COP21 United Nations conference on climate change next to a picture of the Eiffel Tower.
ผู้แทน 196 ประเทศที่ร่วมประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ที่กรุงปารีส รับรองข้อตกลงว่าด้วยการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม นับเป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความครอบคลุมที่สุด นับตั้งแต่การจัดทำพิธีสารเกียวโตเมื่อปี ค.ศ 1997
รมต.ต่างประเทศของฝรั่งเศส Laurent Fabius กล่าวต่อที่ประชุมว่า เสียงตอบรับต่อข้อตกลงต่อสู้ภาวะโลกร้อนฉบับล่าสุดเป็นบวก และไม่มีเสียงคัดค้าน ดังนั้นเป็นที่แน่ชัดว่าที่ประชุมได้รับรองข้อตกลงฉบับนี้แล้วรมต. Fabius ใช้ค้อนเล็กทุบโต๊ะหลังคำประกาศดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดการเจรจาหารือยาวนานติดต่อกัน 2 สัปดาห์ และยังถือเป็นการทำลายภาวะชะงักงันเรื่องการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เอกสารจำนวน 31 หน้าระบุถึงข้อตกลงที่ประเทศต่างๆเห็นพ้องกัน เป้าหมายเพื่อจำกัดระดับอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกินระดับ 2 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ด้วยการจัดหาเงินช่วยเหลือมูลค่า 100,000 ล้านดอลล่าร์แก่ประเทศยากจน ทบทวนความก้าวหน้าทุกๆ 5 ปี และหาทางลดปริมาณก๊าซคาร์บอนที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
Activists gather near the Eiffel Tower during the COP21, the United Nations Climate Change Conference, in Paris, Dec.12, 2015.
Activists gather near th
เมื่อวันเสาร์ เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ บัน คี มูน กล่าวต่อที่ประชุม COP21 ว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องยอมรับว่าผลประโยชน์ของแต่ละประเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อจัดการปัญหาภาวะโลกร้อน                 
อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งที่มิได้นำมารวมไว้ในร่างข้อตกลงขั้นสุดท้าย คือการแบ่งสันปันส่วนความรับผิดชอบในหมู่ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน ว่าจะต้องจัดสรรเงินทุนให้โครงการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนมากน้อยแค่ไหน
นักวิเคราะห์เชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ผ่านการรับรองของที่ประชุมได้ เป็นเพราะการที่บรรดาผู้นำประเทศมหาอำนาจต่างปรากฏตัวในวันแรกๆของการประชุม พร้อมรับปากว่าจะร่วมมือกันเพื่อกำจัดอุปสรรคในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
                      
ปธน.สหรัฐฯ บารัค โอบาม่า กล่าวว่าข้อตกลงฉบับนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมกันในการรักษาโลกของเรา และเป็นการชี้ให้เห็นถึงความจริงว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาฉุกเฉินที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งประเทศต่างๆได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้
COP21 sign agreement
COP21 sign agreement
ขณะเดียวกัน มีหลายประเทศต่อต้านข้อตกลงฉบับนี้ นำโดย จีน อินเดีย มาเลเซียและซาอุฯ ซึ่งยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดจะสร้างผลร้ายต่อเศรษฐกิจของตน บรรดาประเทศเหล่านี้ยืนยันว่าประเทศพัฒนาแล้วควรแบกภาระด้านเงินช่วยเหลือให้แก่ประเทศยากจนมากกว่านี้ 
สำหรับประเทศในแถบแอฟริกาซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ต่างลังเลในตอนแรกที่จะยอมรับข้อตกลง แต่ในที่สุดก็สามารถเจรจากันได้ และจะได้รับเงินทุนหลายพันล้านดอลล่าร์จากฝรั่งเศสและประเทศอื่น เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด
                
รมต.สิ่งแวดล้อมแอฟริกาใต้ เอ็ดน่า โมลีว่า ระบุว่าแม้ไม่ใช่ข้อตกลงที่สมบูรณ์แบบ และมีทั้งคนที่เห็นด้วยและคัดค้าน แต่ในที่สุดเราก็สามารถมาถึงจุดนี้ได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องน่ายินดี
ด้านผู้จัดประชุมเชื่อว่าการที่ 196 ประเทศสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ในการประชุม COP21 ครั้งนี้ ถือเป็นหน้าสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของความร่วมมือระดับชาติในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น